วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 26 มีนาคม 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40

ความรู้ที่ได้รับ
         สำหรับวันนี้อาจารย์นำข้อสอบมาให้นักศึกษาทำเพื่อวัดความรู้ที่เรียนมาว่ามีมากน้อยเพียงใดโดยให้นักศึกษาดูชีสได้

การนำไปใช้
      เราสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้ในอนาคตข้างหน้าเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึั้นกับเด็กในห้องเรียนจะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

บรรยากาศภายในห้องเรียน




ประเมินการเรียนการสอน
ตัวเอง  ตั้งใจทำข้อสอบแบบเต็มที่เต็มความสามารถที่มีอยู่ แต่งกายเรียบร้อย
เพื่อน  ตั้งใจทำข้อสอบกันทุกคน อาจจะมีพูดคุยปรึกษากันบางเล็กๆน้อยๆ
อาจารย์  ไม่เคร่งในเรื่องการทำแบบทดสอบแต่ขอในนักศึกษาทุกคนตั้งใจทำอย่างเต็มที่ด้วยตัวเอง



วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 19 มีนาคม 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40


ความรู้/กิจกรรมที่ได้รับในวันนี้

เรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  • การกินอยู่ เช่น การกินข้าวเอง
  • การเข้าห้องน้ำ เช่น การอาบน้ำ แปรงฟัน เข้าส้วม
  • การแต่งตัว เช่น ใส่เสื้อผ้าเอง ติดกระดุมเอง ใส่รองเท้าเอง เป็นต้น
  • กิจวัตรประจำวันต่างๆ  เช่น การไปโรงเรียน การทิ้งขยะ การขึ้น-ลงบันได เป็นต้น
การสร้างความอิสระ
  • ปล่อยให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง
  • ปล่อยให้เด็กทำตามความสามารถที่มีอยู่
  • เด็กจะเลียนแบบการช่วยเหลือจากเพื่อนที่โตกว่าและผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งที่สำคัญ
  • การได้ทำอะไรด้วยตัวเองจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและรู้สึกดี

หัดให้เด็กทำเอง

  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น(ใจแข็ง)
  • ไม่ทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  • อย่าทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำเองได้หากให้เวลาเขาทำถึงมันจะช้า แต่เขาก็สามารถทำได้
จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด,เบื่อ,ไม่ค่อยสบาย หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กจะรู้สึกว่ามีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร้จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
สำหรับกิจกรรมในวันนี้ 
           อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเพื่อมองดูถึงความสามัคคีปองดองของนักศึกษาภายในห้องนี้ว่ามีความรักใคร่กันมากน้อยเพียงใดและมองถึงลักษณะของแต่ละบุคคลว่ามีจิตใจแบบใด โดยอาจารย์ให้นำสีมาทาเป็นวงกลมเล็กใหญ่หลากสีก็ได้ตามใจชอบแล้วให้แต่ละคนนำเอาผลงานไปติดหน้าห้องเรียน กิจกรรมจัดขึ้นเพื่อความสนุกสนานความสามัคคี การแบ่งปันกันในห้องเรียนเท่านั้น

ผลงา




ผลงานของเพื่อนทุกคน



ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง
เพื่อน มีความตั้งใจและสนุกสนานในการทำกิจกรรม แต่งกายเรียบร้อยทุกคน
อาจารย์ แต่งกายเรียบร้อย มีอะไรใหม่ๆมาให้สนุกและตื่นเต้นในการเรียนอยู่ตลอดเวลาทำให้การเรียนผ่อนคลายไม่เครียด เรียนสนุก เข้าใจเนื้อหา มีการยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 12 มีนาคม 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40

ความรู้ที่ได้รับ
 สำหรับวันนี้เรียนเกี่ยวกับเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย

การวัดความสามารถ
  • เด็กเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • สนทนามีการตอบสนองไหมเมื่อมีคนพูดด้วย
  • รู้จักถามหาสิ่งต่างไไหม
  • เด็กสามารถเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้หรือไม่
  • ใช้คำศัพท์ของตนเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือดารออกเสียงไม่ชัดเจน
  • ห้ามบอกเด็กพูซ้ำปล่อยให้พูด "ตามสบาย" ควรคิดก่อนพูด
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษมาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาไม่ใช่คำพูดก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ(ชี้แนะหากจำป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว(ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง(ครูไม่ควรคาดการณ์ล่วงหน้า)
  • เน้นวิธีการสื่อสารความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าำหร่ ยิ่งพูดไดมากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์
  • เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้สอนเด็กพิเศษ
  • ครูสอนตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในห้องเรียน
  • พบบ่อยในห้องเรียนรวม
หลังการการเรียนในเรื่องของเนื้อหาเสร็จแล้ว อาจารย์ก็มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำท้ายการเรียนเสมอ

                                             กิจกรรมบำบัดด้วยเสียงดนตรี 
           อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กันแล้วให้ตกลงกันว่าใครจะเป็นเด็กปกติและเด็กพิเศษ ให้เด็กพิเศษเขียนเส้นไปตามเสียงดนตรีแล้วให้เด้กปกตืระบายสีที่ช่องปิด สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กพิเศษได้เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมือในการขีดเขียน การฟัง การจับจังหวะดนตรีสูง-ต่ำ การผ่อนคลายความเครียดของเด็กได้อีกด้วย

ผลงานของฉัน


ผลงานของเพื่อนทุกคน


ประเมินการเรียนการสอน
เพื่อน ตั้งใจเรียนแต่งกายเรียบร้อยกันทุกคน
ตนเอง  ตั้งใจทำสนุกสนานกับการเรียนการสอนและรู้สึกผ่อนคลายไม่เครียดในการเรียน
อาจารย์  สอนเข้าใจมีการยกตัวอย่างเพื่อให้มองเห็นภาพมากยิ่งขึ้น ชอบหากิจกรรมและเทคนิคอื่นมาสอนทำให้สนุกกับการเรียนในทุกๆครั้ง




วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 5 มีนาคม 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40

กิจกรรม/เนื้อหา
              อาจารย์เริ่มโดยให้ทำกิจกรรมโดยใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด แล้วให้นักศึกษาวาดรูปมือข้างที่อยู่ในุถุงมืออย่างละเอียด ว่ามีรอยตำหนิ รอยเหี่ยวหย่นอะไรบ้าง เส้นเลือดมีกี่เส้น  แต่เราก็ไม่สามารถวาดได้ถึงแม้มือข้างนี้จะติดตัวเรามาตั้งแต่เกิดก็ตาม เพราะเราไม่เคยสังเกตหรือใส่ใจมันเลยว่ามันมีลักษณะ รูปร่างเป็นอย่างไร เพียงแต่มองอย่างผ่านๆ
ผลงาน

 ต่อด้วยเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง ทักษะของครูและทัศนคติ

ทักษะของครู
การฝึกเพิ่มเติม
  • มีการเข้าอบรมระยะสั้น,สัมมนาต่างๆ
  • มีการใช้สื่อต่างๆเพื่อให้น่าสนใจ
การเข้าใจภาวะปกติ
  • เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
  • ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
  • รู้จักเด็กแต่ละคนว่ามีลักษณะนิสัยอย่างไร
  • มองเด็กให้เป็น"เด็ก"อย่าคิดคาดหวังกับเด็กเกินไป
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
  • การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ
  • ต้องมีแรงจูงใจในการเรียน
  • เปิดโอกาสให้เด็ก
อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น 
  • ครูต้องแก้ไขแผนการสอนตามความเหมาะสมและสถานการณ์
  • ต้องยอมรับขีดจำกัดความสามารถของเด็กได้
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของเด็กแต่ละคนอย่าคาดหวังกับเด็กเกินเป้าหมาย
การใช้สหวิทยาการ
  • จะต้องใจกว้างรับฟังคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้

เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
    แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
  • ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
  • มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
  • หากผู้ใหญ่ไม่สนพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • หลักการให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
  • ครูต้องละะเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
  • ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท(Prompting)
  • ย่อยงานออกเป็นขั้น
  • เรียงลำดับยากง่าย
  • การเรียงลำดับเป็นแรงเสริมให้เด็กไปสู่ความสำเร็จทีละขั้น
  • การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์แต่ละขั้น
  • สอนจากง่ายไปยาก
  • ให้แรงเสริมเมื่อเด็กทำได้
  • ลดการบอกกบท เมื่อเด็กก้าวไปขั้นต่อไป
  • ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
  • ไม่เร่งรัด"ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น"
  • ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา : จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม

ความต่อเนื่อง
  • พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน เช่นการเข้าห้องน้ำ การนอนผักผ่อนการหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • ครูจะงดแรงเสริมกับเด้กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • ทำอย่างอื่นไม่สนใจเด็ก
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
  • เอาเด็กออกจากการเล่น
บรรยากาศในห้องเรียน



ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างเคร่งครัด
ประเมินเพื่อน
แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนสายส่วนใหญ่ ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนสนุก มีกิจกรรมมาเสริมในการเรียนทำให้การเรียนการสอนไปเครียดและได้ความรู้