วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 5 มีนาคม 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40

กิจกรรม/เนื้อหา
              อาจารย์เริ่มโดยให้ทำกิจกรรมโดยใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด แล้วให้นักศึกษาวาดรูปมือข้างที่อยู่ในุถุงมืออย่างละเอียด ว่ามีรอยตำหนิ รอยเหี่ยวหย่นอะไรบ้าง เส้นเลือดมีกี่เส้น  แต่เราก็ไม่สามารถวาดได้ถึงแม้มือข้างนี้จะติดตัวเรามาตั้งแต่เกิดก็ตาม เพราะเราไม่เคยสังเกตหรือใส่ใจมันเลยว่ามันมีลักษณะ รูปร่างเป็นอย่างไร เพียงแต่มองอย่างผ่านๆ
ผลงาน

 ต่อด้วยเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง ทักษะของครูและทัศนคติ

ทักษะของครู
การฝึกเพิ่มเติม
  • มีการเข้าอบรมระยะสั้น,สัมมนาต่างๆ
  • มีการใช้สื่อต่างๆเพื่อให้น่าสนใจ
การเข้าใจภาวะปกติ
  • เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
  • ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
  • รู้จักเด็กแต่ละคนว่ามีลักษณะนิสัยอย่างไร
  • มองเด็กให้เป็น"เด็ก"อย่าคิดคาดหวังกับเด็กเกินไป
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
  • การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ
  • ต้องมีแรงจูงใจในการเรียน
  • เปิดโอกาสให้เด็ก
อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น 
  • ครูต้องแก้ไขแผนการสอนตามความเหมาะสมและสถานการณ์
  • ต้องยอมรับขีดจำกัดความสามารถของเด็กได้
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของเด็กแต่ละคนอย่าคาดหวังกับเด็กเกินเป้าหมาย
การใช้สหวิทยาการ
  • จะต้องใจกว้างรับฟังคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้

เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
    แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
  • ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
  • มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
  • หากผู้ใหญ่ไม่สนพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • หลักการให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
  • ครูต้องละะเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
  • ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท(Prompting)
  • ย่อยงานออกเป็นขั้น
  • เรียงลำดับยากง่าย
  • การเรียงลำดับเป็นแรงเสริมให้เด็กไปสู่ความสำเร็จทีละขั้น
  • การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์แต่ละขั้น
  • สอนจากง่ายไปยาก
  • ให้แรงเสริมเมื่อเด็กทำได้
  • ลดการบอกกบท เมื่อเด็กก้าวไปขั้นต่อไป
  • ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
  • ไม่เร่งรัด"ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น"
  • ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา : จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม

ความต่อเนื่อง
  • พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน เช่นการเข้าห้องน้ำ การนอนผักผ่อนการหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • ครูจะงดแรงเสริมกับเด้กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • ทำอย่างอื่นไม่สนใจเด็ก
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
  • เอาเด็กออกจากการเล่น
บรรยากาศในห้องเรียน



ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างเคร่งครัด
ประเมินเพื่อน
แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนสายส่วนใหญ่ ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนสนุก มีกิจกรรมมาเสริมในการเรียนทำให้การเรียนการสอนไปเครียดและได้ความรู้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น