วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 30 เมษายน 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40

ความรู้ที่ได้รับ 

             สำหรับวันนี้อาจารย์ได้สอบร้องเพลงโดยมีเพลงทั้งหมด 20 เพลง ที่ทำเป็นฉลากอาจารย์จะเป็นคนจับฉลากเลือกให้นักศึกษาออกมาเอง แล้วให้นักศึกษามาจับฉลากเพลง 

กติกาการให้คะแนน
1.ถ้าดูเนื้อเพลง หัก 1 คะแนน
2.ถ้าให้เพื่อนช่วยร้อง หัก 1 คะแนน
3.ถ้าจับใหม่ หัก 0.5 คะแนน

บรรยากาศภายในห้องเรียน





สรุปกิจกรรมวันนี้
            อาจารย์ให้คะแนนนักศึกษาเท่ากันทุกคน อาจารย์แค่อยากให้นักศึกษาออกมาหน้าห้องเรียน กล้าแสดงออกท่านั้นเสำหรับวันนี้ก็เป็นการเรียนการสอนคาบสุดท้ายรู้สึกดีทุกครั้งที่เรียนกับอาจารย์อาจารย์เป็นคนน่ารัก อารมณ์ดี มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายทำให้ไม่เบื่อ ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะเรียนกับอาจารย์ทุกๆเทอมขอให้อาจารย์น่ารัก ใจดี อย่างนี้ตลอดไปน่ะค่ะ
  

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 23 เมษายน 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40

ความรู้ที่ได้รับ
 วันนี้เรียนเกี่ยวกับการเขียนแผน IEP
IEP ย่อมาจาก Individualized Education plan แปลว่า แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษทุกคนได้รับการสอน
  • ด้วยการสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นเวลาสิ้นสุดการใช้แผน และวิธีการประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
  • เด็กสามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไร
  • ระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะสั้น/ระยะยาว
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาศพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูต่อเนื่องอย่างเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครูผู้สอน

  • ครูใช้IEPเป็นแนวทางในการจัดแผนการสอนรายบุคคล
  • ครูใช้IEPกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของครู
  • ครูใช้IEPเป็นแนวทางในการฝึกพัฒนาการและติดตามพัฒนาการเรียนของเด็ก
  • ครูใช้IEPเป็นแนวทางในการรายงานตนหรือแจ้งความก้าวหน้าในการเรียนการสอนของเด็กแก่ผู้ปกครอง
  • ครูใช้เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการเรียนการสอนกิจกรรม วิธีสอน วิธีจัด ประเมินผล
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
  • 1.การรวบรวมข้อมูล
  • 2.การจัดทำแผน
จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งอยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ภายใน 2-3 วันหรือ 2-3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร
  • พฤติกรรมอะไร
  • เมื่อไหร่ที่ไหน
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูณณ์ ครูจะนำแผนระยะสั้นไปใช้
  • นำมาเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเพลง
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้งหรือย่อยกว่านั้น
  • ควรกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล
           หลังจากการเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาแล้วอาจารย์ก็ให้จับกลุ่ม 5 คน ทดลองเขียนแผน IEP เพื่อดูความเข้าใจของนักศึกษาว่าเข้าใจมากน้อยเพียงใด

ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง ตั้งใจฟังเพื่อนำเอาความรู้เล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในอนาคตข้างหน้าและเขียนแผน IEP ได้อย่างถูกต้อง
เพื่อน แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายกันทุกคน
อาจารย์ อธิบายทีละขั้นตอนจึงทำให้เข้าใจมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 16 เมษายน 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40

"ไม่มีการเรียนการสอน
อยู่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์"

*************************************


วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 9 เมษายน 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40

กิจกรรมวันนี้
         ก่อนเริ่มกิจกรรมอาจารย์ได้แจกสีคนละ 1 กล่อง จากเงินของค่าวัสดุฝึกรายวิชานี้และอาจารย์ก็สอนร้องเพลงเพื่อจะนำไปสอบในสัปดาห์ต่อไป วันนี้อาจารย์ก็สอนร้องอีก 5 เพลง ต่อไปนี้
1.เพลงนกกระจิบ
2.เพลงเที่ยวท้องนา
3.เพลงแม่ไก่ออกไข่
4.เพลงลูกแมว 10 ตัว
5.เพลงลุงมาชาวนา

ต่อด้วยเนื้อหาวันนี้เรียนเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

 เป้าหมาย

การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง  
ช่วงความสนใจ
  • เด็กปกติ ประมาณ 5-10 นาที
  • เด็กพิเศษ ไม่เกิน 5 นาที
การเลียนแบบ

  • จะเลียนแบบ พ่อแม่ รุ่นพี่ เพื่อน ครู
  • ควรเรียกชื่อเด็กก่อน
  • ควรจะให้เพื่อนไปเป็นเพื่อนเด็กพิเศษ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • ต้องเรียกชื่อและสัมผัสเด็กก่อน
  • คำสั่งที่ครูสั่งต้องไม่ซับซ้อน
การรับรู้และการเคลื่อนไหว
  • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
  • ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • การต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาตร์

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ้มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้น
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไร
  • รู้ว่าเมื่อไรจะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก


ประเมินการเรียนการสอน

     เพื่อน แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม และให้ความร่วมมือในการทำงาน
     ตนเอง แต่งกายถูกรระเบียบ ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมเสร็จทันเวลา
     อาจารย์ อธิบายเข้าใจมีการยกตัวอย่างเพื่อให้มองภาพออก ใช้คำพูดที่เหมาะสมแต่งกายเรียบร้อย


วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 2 เมษายน 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากอาจารย์ไปเข้าร่วมงาน วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี กับทางมหาวิทยาลัยราชภัฎจันรเกษม

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 26 มีนาคม 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40

ความรู้ที่ได้รับ
         สำหรับวันนี้อาจารย์นำข้อสอบมาให้นักศึกษาทำเพื่อวัดความรู้ที่เรียนมาว่ามีมากน้อยเพียงใดโดยให้นักศึกษาดูชีสได้

การนำไปใช้
      เราสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้ในอนาคตข้างหน้าเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึั้นกับเด็กในห้องเรียนจะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

บรรยากาศภายในห้องเรียน




ประเมินการเรียนการสอน
ตัวเอง  ตั้งใจทำข้อสอบแบบเต็มที่เต็มความสามารถที่มีอยู่ แต่งกายเรียบร้อย
เพื่อน  ตั้งใจทำข้อสอบกันทุกคน อาจจะมีพูดคุยปรึกษากันบางเล็กๆน้อยๆ
อาจารย์  ไม่เคร่งในเรื่องการทำแบบทดสอบแต่ขอในนักศึกษาทุกคนตั้งใจทำอย่างเต็มที่ด้วยตัวเอง



วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 19 มีนาคม 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40


ความรู้/กิจกรรมที่ได้รับในวันนี้

เรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  • การกินอยู่ เช่น การกินข้าวเอง
  • การเข้าห้องน้ำ เช่น การอาบน้ำ แปรงฟัน เข้าส้วม
  • การแต่งตัว เช่น ใส่เสื้อผ้าเอง ติดกระดุมเอง ใส่รองเท้าเอง เป็นต้น
  • กิจวัตรประจำวันต่างๆ  เช่น การไปโรงเรียน การทิ้งขยะ การขึ้น-ลงบันได เป็นต้น
การสร้างความอิสระ
  • ปล่อยให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง
  • ปล่อยให้เด็กทำตามความสามารถที่มีอยู่
  • เด็กจะเลียนแบบการช่วยเหลือจากเพื่อนที่โตกว่าและผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งที่สำคัญ
  • การได้ทำอะไรด้วยตัวเองจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและรู้สึกดี

หัดให้เด็กทำเอง

  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น(ใจแข็ง)
  • ไม่ทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  • อย่าทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำเองได้หากให้เวลาเขาทำถึงมันจะช้า แต่เขาก็สามารถทำได้
จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด,เบื่อ,ไม่ค่อยสบาย หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กจะรู้สึกว่ามีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร้จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
สำหรับกิจกรรมในวันนี้ 
           อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเพื่อมองดูถึงความสามัคคีปองดองของนักศึกษาภายในห้องนี้ว่ามีความรักใคร่กันมากน้อยเพียงใดและมองถึงลักษณะของแต่ละบุคคลว่ามีจิตใจแบบใด โดยอาจารย์ให้นำสีมาทาเป็นวงกลมเล็กใหญ่หลากสีก็ได้ตามใจชอบแล้วให้แต่ละคนนำเอาผลงานไปติดหน้าห้องเรียน กิจกรรมจัดขึ้นเพื่อความสนุกสนานความสามัคคี การแบ่งปันกันในห้องเรียนเท่านั้น

ผลงา




ผลงานของเพื่อนทุกคน



ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง
เพื่อน มีความตั้งใจและสนุกสนานในการทำกิจกรรม แต่งกายเรียบร้อยทุกคน
อาจารย์ แต่งกายเรียบร้อย มีอะไรใหม่ๆมาให้สนุกและตื่นเต้นในการเรียนอยู่ตลอดเวลาทำให้การเรียนผ่อนคลายไม่เครียด เรียนสนุก เข้าใจเนื้อหา มีการยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 12 มีนาคม 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40

ความรู้ที่ได้รับ
 สำหรับวันนี้เรียนเกี่ยวกับเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย

การวัดความสามารถ
  • เด็กเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • สนทนามีการตอบสนองไหมเมื่อมีคนพูดด้วย
  • รู้จักถามหาสิ่งต่างไไหม
  • เด็กสามารถเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้หรือไม่
  • ใช้คำศัพท์ของตนเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือดารออกเสียงไม่ชัดเจน
  • ห้ามบอกเด็กพูซ้ำปล่อยให้พูด "ตามสบาย" ควรคิดก่อนพูด
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษมาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาไม่ใช่คำพูดก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ(ชี้แนะหากจำป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว(ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง(ครูไม่ควรคาดการณ์ล่วงหน้า)
  • เน้นวิธีการสื่อสารความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าำหร่ ยิ่งพูดไดมากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์
  • เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้สอนเด็กพิเศษ
  • ครูสอนตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในห้องเรียน
  • พบบ่อยในห้องเรียนรวม
หลังการการเรียนในเรื่องของเนื้อหาเสร็จแล้ว อาจารย์ก็มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำท้ายการเรียนเสมอ

                                             กิจกรรมบำบัดด้วยเสียงดนตรี 
           อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กันแล้วให้ตกลงกันว่าใครจะเป็นเด็กปกติและเด็กพิเศษ ให้เด็กพิเศษเขียนเส้นไปตามเสียงดนตรีแล้วให้เด้กปกตืระบายสีที่ช่องปิด สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กพิเศษได้เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมือในการขีดเขียน การฟัง การจับจังหวะดนตรีสูง-ต่ำ การผ่อนคลายความเครียดของเด็กได้อีกด้วย

ผลงานของฉัน


ผลงานของเพื่อนทุกคน


ประเมินการเรียนการสอน
เพื่อน ตั้งใจเรียนแต่งกายเรียบร้อยกันทุกคน
ตนเอง  ตั้งใจทำสนุกสนานกับการเรียนการสอนและรู้สึกผ่อนคลายไม่เครียดในการเรียน
อาจารย์  สอนเข้าใจมีการยกตัวอย่างเพื่อให้มองเห็นภาพมากยิ่งขึ้น ชอบหากิจกรรมและเทคนิคอื่นมาสอนทำให้สนุกกับการเรียนในทุกๆครั้ง




วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 5 มีนาคม 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40

กิจกรรม/เนื้อหา
              อาจารย์เริ่มโดยให้ทำกิจกรรมโดยใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด แล้วให้นักศึกษาวาดรูปมือข้างที่อยู่ในุถุงมืออย่างละเอียด ว่ามีรอยตำหนิ รอยเหี่ยวหย่นอะไรบ้าง เส้นเลือดมีกี่เส้น  แต่เราก็ไม่สามารถวาดได้ถึงแม้มือข้างนี้จะติดตัวเรามาตั้งแต่เกิดก็ตาม เพราะเราไม่เคยสังเกตหรือใส่ใจมันเลยว่ามันมีลักษณะ รูปร่างเป็นอย่างไร เพียงแต่มองอย่างผ่านๆ
ผลงาน

 ต่อด้วยเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง ทักษะของครูและทัศนคติ

ทักษะของครู
การฝึกเพิ่มเติม
  • มีการเข้าอบรมระยะสั้น,สัมมนาต่างๆ
  • มีการใช้สื่อต่างๆเพื่อให้น่าสนใจ
การเข้าใจภาวะปกติ
  • เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
  • ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
  • รู้จักเด็กแต่ละคนว่ามีลักษณะนิสัยอย่างไร
  • มองเด็กให้เป็น"เด็ก"อย่าคิดคาดหวังกับเด็กเกินไป
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
  • การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ
  • ต้องมีแรงจูงใจในการเรียน
  • เปิดโอกาสให้เด็ก
อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น 
  • ครูต้องแก้ไขแผนการสอนตามความเหมาะสมและสถานการณ์
  • ต้องยอมรับขีดจำกัดความสามารถของเด็กได้
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของเด็กแต่ละคนอย่าคาดหวังกับเด็กเกินเป้าหมาย
การใช้สหวิทยาการ
  • จะต้องใจกว้างรับฟังคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้

เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
    แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
  • ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
  • มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
  • หากผู้ใหญ่ไม่สนพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • หลักการให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
  • ครูต้องละะเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
  • ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท(Prompting)
  • ย่อยงานออกเป็นขั้น
  • เรียงลำดับยากง่าย
  • การเรียงลำดับเป็นแรงเสริมให้เด็กไปสู่ความสำเร็จทีละขั้น
  • การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์แต่ละขั้น
  • สอนจากง่ายไปยาก
  • ให้แรงเสริมเมื่อเด็กทำได้
  • ลดการบอกกบท เมื่อเด็กก้าวไปขั้นต่อไป
  • ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
  • ไม่เร่งรัด"ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น"
  • ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา : จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม

ความต่อเนื่อง
  • พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน เช่นการเข้าห้องน้ำ การนอนผักผ่อนการหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • ครูจะงดแรงเสริมกับเด้กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • ทำอย่างอื่นไม่สนใจเด็ก
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
  • เอาเด็กออกจากการเล่น
บรรยากาศในห้องเรียน



ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างเคร่งครัด
ประเมินเพื่อน
แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนสายส่วนใหญ่ ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนสนุก มีกิจกรรมมาเสริมในการเรียนทำให้การเรียนการสอนไปเครียดและได้ความรู้


วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 26 กุมพาพันธ์ 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40

"ไม่มีการเรียนการสอน
อยู่ในช่วงสอบกลางภาค"

*************************************


วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40


กิจกรรม/ความรูที่ได้

    วันนี้เรียนเกี่ยวกับเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม 

  • เราจะต้องปรับที่ตัวของเด็ก สำหรับเด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุจากพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของเด็กในด้านสังคม
  • เด็กจะมีความสนใจกับเด็กวัยเดียวกัน
  • ช่วงแรกเด็กจะยังไม่สนใจเพื่อนแต่พอมีสื่อหรือสิ่งที่น่าสนใจเด็กก็จะอยากสำรวจ สัมผัส
ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้สิ่งนั้นเล่นอย่างไร
  • ครูต้องคอยสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  • ครูต้องบอกได้ว่าเด็กแต่ละคนมีทักษะในการเล่นแบบใด
  • ครูทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • มีการวางแผนกิจกรรมไว้หลายๆอย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน"ครู"ให้กับเด็กพิเศษ
ครูควรเป็นอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • ครูควรเฝ้ามองอยู่ใกล้อย่างสนใจ
  • เวลาเด็กหันหน้ามาหาครู ครูควรยิ้มและพยักหน้าให้เด็ก
  • ครูไม่ควรชมเชยหรือให้ความสนใจเด็กมากเกินไปเพราะจะทำให้เด็กเสียสมาธิ
  • ครูควรเอาวัสดุอุปกรณ์มาให้ประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กเพราะยืดเวลาการเล่นให้นาน
  • ครูควรแสดงความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริมให้กับเด็ก
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อนทำโดย"การพูดนำของครู"
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ ต้องให้เวลาและโอกาสกับเด็ก
  • เด็กพิเศษจะต้องมีสิทธิต่างๆเหมือนกับเพื่อนในห้อง
  • ครูไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กในการต่อรอง

กิจกรรมต่อเนื่อง
   อาจารย์แจกกระดาษให้ 2 คนต่อแผ่น เป็นการทำกิจกรรมการบำบัดด้วยเสียงเพลงโดยให้เด็กคนหนึ่งเป็นเด็กปกติและอีกคนเป็นเด็กพิเศษแล้วช่วยกันสร้างชิ้นงานออกมา



บรรยากาศในห้องเรียน





ผลงานของดิฉัน



กิจกรรมต่อด้วยฝึกร้องเพลง


เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า  บ่งเวลาว่ากลางวัน 

เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงแพรวตาเวลาค่ำคืน



เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะลิ กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ



เพลง กุหลาบ
กุหลาบงาม ก้านแหยมแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน




เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู



เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่มหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ จริงเอย


ผู้แต่ง อาจารย์ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


ประเมินตนเอง
   แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา แต่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
   แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจเรียน มีการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์
   อาจารย์สอนเข้าใจง่าย ไม่เคร่งเครียดมากเกินไป และเข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย



วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40


กิจกรรม/ความรูที่ได้


       กิจกรรมวันนี้เราจัดเซอร์ไพร์วันเกิดอาจารย์ย้อนหลัง

         วันนี้ถือเป็นที่สำคัญอีกวันที่ได้เห็นถึงความสามัคคีของเพื่อนๆในห้องเรียนว่าเพื่อนแต่ละคนให้ความร่วมมือในกิจกรรมมากน้อยเพียงใด เพื่อนทุกคนคนต่างก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างเพื่อทำให้งานออกมาดีที่สุดและทำให้พวกเรารักกันมากขึ้น และมีการแบ่งปันกันกินเค้กถึงแม้จะมีเพียงเล็กน้อยก็ได้กินกันอย่างทั่วถึง เป็นวันอบอุ่นอีกวัน

บรรยากาศในห้องเรียน


สุขสันต์วันเกิดนะค่ะอาจารย์


บรรยากาศในห้องเรียน








วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40   เวลาเข้าสอน 13.10 -16.40


กิจกรรม/ความรูที่ได้
    สำหรับวันนี้ก่อนเข้าสู่การเรียนการสอนอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมก่อนเรียนโดยเป็นกิจกรรมวาดภาพเหมือนจริง ให้นักศึกษาวาดให้เหมือนที่สุดและอธิบายว่ามองเห็นอะไรในภาพภาพนี้และมีการสอนอย่างต่อเนื่อง
ผลงาน



เนื้อหาที่เรียน
   วันนี้เรียนเกี่ยวกับบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
  • การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่างจากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุเพศเด็ก
  • เพราะจะเกิดผลเสียกับเด็กมากกว่าผลดี
  • เด็กจะเหมือนมีตราประทับติดตัวตลอดไป
  • เด็กจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  • เพราะพ่อแม่ของเด็กรู้ดี
  • พ่อแม่ไม่อยากให้ย้ำในสิ่งที่เขารู้
  • ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นเชิงบวกให้กับพ่อแม่
  • ครูควรบอกว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง ดีกว่าบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
  • ครูต้องช่วยผู้ปกครองมีความหวังและมองเห็นแนวทางการพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
  • ครูควรมองเห็นถึงพัฒนาการของเด็ก
  • ให้ข้อแนะนำที่เหมาะสมเกี่ยวกับการประเมินผลหรือวินิจฉัย
  • สังเกตเด้กอย่างเป็นระบบ
  • จดบันทึกเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างเป็นระบบ
  • ครูสามารถสังเกตเด็กได้ดีกว่าบุคคลอื่นๆ
  • ครูเห็นเด็กทุกๆสถานการณ์ในเวลาที่ยาวนาน
  • ต่างจากคนที่ เป็นแพทย์ นักจิตวิทยา คลีนิก ที่มองแค่ปัญหาที่เกิดขึ้น
การตรวจสอบ
  • จะทราบว่าเด็กเป็นอย่างไร
  • เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กมากขึ้น
  • สามารถบอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  • ประเมินความสำคัญของแต่ละเรื่องได้
  • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ปรากฎให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต

1.การนับอย่างง่าย
  • นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  • กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
  • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
2.การบันทึกต่อเนื่อง
  • ให้รายละเอียดไว้มาก
  • เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือกิจกรรมหนึ่งโดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
3.การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  • บันทึกลงบัตรเล็กๆ
  • บันทึกสั้นๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดข้อบกพร่อง
  • พฤติกรรมที่ไม่เหมาะของเด็ก ไม่ควรคิดว่าเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  • ครูควรพิจารณาว่าพฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
เพลง ฝึกกายบริหาร
ผู้แต่งอาจารย์ ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสัดส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสัดส่วนแคล่วคล่องว่องไว

บรรยากาศภายในห้องเรียน
   วันนี้รู้สึกตื่นเต้นจากกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำคือการวาดภาพดอก
ลิลลี่และมีการสนทนาโต้ตอบระหว่างเรียนของอาจารย์กับนักศึกษาและผ่อนคลายด้วยเพลงกายบริหาร เป็นการเรียนที่สนุก ไม่เครียด และมีความสุข




ประเมินตัวเอง
    ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อยและให้คว่ามตั้งใจวาดภาพเป็นอย่างมาก
ประเมินเพื่อน 
    เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจฟังอาจารย์สอนพร้อมให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์
    อาจารยเข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีเทคนิคในการสอนในแบบใหม่ๆสนุกสนานและไม่เคร่งเครียดจนเกินไป